หลักการและเหตุผล
ที่มา กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 เป็นภูมิภาคที่มีศักยภาพและมีโอกาสในการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สำคัญทั้งนี้ เนื่องจากมีปัจจัยสนับสนุนหลายประการอาทิ เช่น มีทรัพยากรธรรมชาติและแหล่งท่องเที่ยว มีความหลากหลายที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวและวัฒนธรรมเป็นอัตลักษณ์ของพื้นที่ เป็นกลุ่มจังหวัดที่มีพื้นที่ถือครองเพื่อการเกษตรมากที่สุดสามารถทำการผลิตพืชผลทางการ เกษตรได้หลายประเภท และเชื่อมโยงไปสู่อุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป เป็นครัวของประเทศเป็นเส้นทางคมนาคมเดียวใกล้และสะดวกของ การเชื่อมโยงจากภาคกลางไปสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ไปยังสปป.ลาวตอนกลางและตอนเหนือ ประเทศเวียตนามตอนกลาง และตอนเหนือ รวมทั้งประเทศจีนตอนใต้ เป็นแหล่งต้นกำเนิดต้นน้ำสำคัญ เป็นแหล่งสินค้าเกษตรที่สำคัญ คือ ข้าว มันสำปะหลัง โคเนื้อ โคนมและแพะ มีสนามบินนานาชาติของกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 มีสถาบันการศึกษาที่มีผลงานวิจัย มีความเชี่ยวชาญ และมีเทคโนโลยีสนับสนุนภาคการผลิต การแปรรูปรูป การพัฒนาด้านอื่นๆ และ มีโรงงานอุตสาหกรรม มีแรงงานจำนวนมาก สามารถ รองรับการขยายตัวการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการในอนาคต รวมถึงประชาชนในพื้นที่มีวันัยทางการเงินค่อนข้างสูง โดยมีสัดส่วนหนี้เสียต่อปริมาณเงินให้กู้ต่ำ
อย่างไรก็ตาม พื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนล่าง 1 ยังมีพื้นที่ที่ต้องได้รับการพัฒนา อาทิ เช่นกลุ่ม หมู่บ้านล้าหลัง ที่กระจายอยู่ในแต่ละอำเภอขอนครราชสีมา ซึ่งมีจุดอ่อนที่ต้องได้รับการพัฒนาและปรับปรุงอักหลายด้านเช่น ขาด การนำนวัตกรรมใหม่ๆ มาเพิ่มศักยภาพด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมอื่นๆ ผลผลิตทางการเกษตร เพื่อการบริโภค ยังผ่าน มาตรฐานน้อย ขาดแผนการตลาดเกษตรกรรม ขาดการเชื่อมโยงผลิตภัณฑ์ชุมชนเข้าสู่เข้าสู่ภาคการตลาดและอุตสาหกรรม รวมถึง การแปรรูป เช่น อายุการจัดเก็บน้อย ผลิตภัณฑ์ที่ยังไม่ได้มาตรฐาน บรรจุภัณฑ์ไม่น่าสนใจ เป็นต้น จึงจำเป็นต้องเร่งแก้ปัญหา ต่างๆ เหล่านี้เพื่อให้ได้บรรลุประเด็นยุทธศาสตร์ของกลุ่มจังหวัดนครชัยบุรินทร์ ที่ว่าด้วยการพัฒนาขัดความสามารถในการแข่งขันเกษตรอุตสาหกรรมและแปรรูปต่อไป และให้บรรลุเป้าหมาย ซึ่งได้วางตำแหน่งทางบุทธศาสตร์ที่จะเป็นแหล่งผลิตสินค้าเกษตรและอาหารปลอดภัยของประเทศ
สรุปสาระสำคัญ (สภาพปัญหา/ความต้องการ)
เกษตรกรและผู้ประกอบการ SMEs จำนวนมากในเขตนครชันบุรินทร์ ที่ยังขาดความรู้ความเข้าใจในกระบวนการ วิธีการและขั้นตอนในการดำเนินการ
เพิ่อให้ได้มาซึ่งมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารและมาตรฐานเกี่ยวข้องกับการผลิตที่ถูกสุขลักษณะ
วัตถุประสงค์ของโครงการ
1) เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้และนวัตกรรมด้านการเกษตรและการแปรรูปแบบครบวงจร ให้กับผู้เข้าร่วมโครงการและในเขตพื้นที่ที่ต้องการได้รับการพัฒนา
อย่างเร่งด่วน เช่นกลุ่มหมู่บ้านล้าหลังในจังหวัดนครราชสีมา
2) เพื่อการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน เกษตรอุตสาหกรรมและการแปรรูป
3) เพื่อจัดทำระบบฐานข้อมูลกลุ่มผู้ผลิตและการแปรรูปทางการเกษตร
4) เพื่อพัฒนา Application สำหรับใช้ในการบริหารจัดการฟาร์มเกษตรอย่างง่าย